รูปภาพประกอบ |
ท่านพล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ได้มาเป็นประธานในพิธีในการ (ฝึกการบริหารวิกฤติการณ์ระดับชาติ)ให้ท่าน พล.อ.พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ทำการฝึกระดับชาติ C-MEX 19 ด้านการต่อต้านการก่อการร้าย! ที่ร.ร.เตรียมทหารนครนายกฯ
ที่โรงเรียนเตรียมทหาร จ.นคนนายก เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๕.๓๐ นาฬิกา ท่าน พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้การต้อนรับ ท่าน พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในโอกาสเดินทางตรวจเยี่ยมการฝึกทดสอบแผนเผชิญเหตุภายใต้กรอบการฝึกการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ : C-MEX 19 ด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ณ โรงเรียนเตรียมทหาร อำเภอบ้านนาจังหวัดนครนายก การก่อการร้ายที่ยังคงเป็นภัยคุกคามร้ายแรงและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาคมโลก ภูมิภาค และประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนปัจจุบันรูปแบบการก่อการร้ายมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งมีความซับซ้อน มีการขยายอิทธิพล แนวคิด และมีการก่อเหตุที่รวดเร็วแต่เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง ดังนั้นเพื่อให้ประเทศไทยมีความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย รัฐบาลจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การต่อต้านการก่อการร้าย พุทธศักราช ๒๕๖๐–๒๕๖๔ ตลอดจนการยกร่างพระราชบัญญัติปัองกันและปรามปรามการก่อการร้ายขึ้น เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๑–๒๕๘๐ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนำไปพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ กองบัญชาการกองทัพไทย จึงได้มอบหมายให้ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล พัฒนาขีดความสามารถให้มีความพร้อม โดยที่ผ่านมาได้จัดการฝึกร่วม/ผสมกับเหล่าทัพ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และมิตรประเทศอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ยังได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการฝึกอบรม “ด้านการบริหารวิกฤตการณ์” โดยมีวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์สูงจากต่างประเทศ มาทำการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนความรู้ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมจากทุกภาคส่วน
สำหรับในปีนี้ถือเป็นวาระสำคัญที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และกองบัญชาการกองทัพไทย
จึงได้ร่วมกันจัดการฝึกการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติประจำปี ๒๕๖๒ ภายใต้รหัส “บ้านนา ๖๒” หรือ C-MEX 19 ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๕ มีนาคม ๒๕๖๒ โดยมุ่งเน้น การให้ความรู้ ความเข้าใจในการบริหารเหตุการณ์วิกฤตที่เกิดจากการก่อการร้าย รวมทั้งภัยพิบัติที่เกิดจากเหตุการณ์ก่อการร้าย ให้แก่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงระดับผู้ปฏิบัติ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ กองทัพภาคที่ ๑–๔ ผู้บัญชาการตำรวจภาค ๑-๙ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดทั่วประเทศ และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมเชิญปฏิบัติการในขั้นตอนการบริหารเหตุการณ์ การควบคุมบังคับบัญชา และการประสานงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ที่อาจจะต้องเป็นผู้บริหารเหตุการณ์ในฐานะหน่วยเผชิญเหตุขั้นต้น (First Responder) เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถร่วมปฏิบัติงานภายใต้สภาวะวิกฤติให้บรรลุภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการฝึกฯในครั้งมีกำลังพลที่เข้าร่วมการฝึกฯ จำนวนทั้งสิ้น ๑,๖๗๐ นาย โดยมีรูปแบบการฝึก ประกอบด้วย
- การฝึกปรับมาตรฐานการปฏิบัติของหน่วยปฏิบัติการทางยุทธวิธี และหน่วยสนับสนุนการ ปฏิบัติการทางยุทธวิธี
- การฝึกการบริหารวิกฤตการณ์ แบบการแก้ปัญหาบนโต๊ะ (Table Top Exercise)
- การประชุมเชิงปฏิบัติการและการฝึกปัญหาที่บังคับการ หรือ CPX ของส่วนต่าง ๆ ภายในกองบัญชาการเหตุการณ์
- การฝึกและการสาธิตการปฏิบัติการทางยุทธวิธี ประกอบด้วย การปฏิบัติการต่อที่หมายสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งสมมุติให้เกิด
เหตุการณ์การกราดยิงในห้างสรรพสินค้าจำลอง การปฏิบัติการต่อต้านอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง การปฏิบัติต่อที่หมายเรือเพื่อทดสอบกลไกการควบคุมสั่งการ การปฏิบัติการในทะเลและชายฝั่ง การบรรเทาสาธารณภัยและช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยทางน้ำ ซึ่งเกิดจากการก่อการร้าย และการปฏิบัติการไล่ติดตามและหยุดยั้งการหลบหนีด้วยอากาศยาน ผลที่ได้รับจากการฝึก คือการทำให้มีการพัฒนาระบบเตรียมพร้อม และการบริหารจัดการภัยคุกคามให้มีประสิทธิภาพ ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ตลอดจนทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจถึงกระบวนการประสานงาน ประสานแผน และการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติการ สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันที่เข้มแข็งในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศมีความพร้อมในการรับมือกับภัยคุกคามจากการก่อการร้าย และภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไปตามข่าว (คนจอหอ/รายงาน/PR กรมกิจการพลเรือนทหาร/ข้อมูล) นสพ.นิวส์มหาชนออนไลน์ทั่วโลกนำเสนอข่าวเข้าไปดูข่าวได้ที่...www.news-mahachon.com