รูปภาพประกอบ |
ท่าน เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรคอดีตนายแบบของกระทรวง(ทุ่มงบ!ทำเอ็มโอยู) จับมือมหาดไทยและยุติธรรมฯ ร่วมคัดกรองวัณโรคในเรือนจำ เพื่อ (คืนคนดี สุขภาพดี ปลอดวัณโรค สู่สังคมไทย)ใน 5 จว.เขต10 อุบลฯ
ที่กระทรวงสาธารณสุขนนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงยุติธรรม ดำเนินการแก้ไข ปัญหาวัณโรคในเรือนจำ พื้นที่ 5 จังหวัด ในเขตสุขภาพที่ 10 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัด และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “เรือนจำในเขตสุขภาพที่ 10 ปลอดวัณโรค” เพื่อดำเนินการร่วมกันในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคแบบเชิงรุกในผู้ต้องขังในเรือนจำทุกราย รวม 1.2 หมื่นราย
เมื่อวันที่ (23 พฤษภาคม 2560) ที่เรือนจำกลางจังหวัดอุบลราชธานี ท่านนายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมรองศาสตราจารย์คลินิก แพทย์หญิงวารุณี จินารัตน์ ผู้ตรวจราชการสาธารณสุขเขต 10 ร่วมเป็นพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “เรือนจำในเขตสุขภาพที่ 10 ปลอดวัณโรค” โดยมี 5 จังหวัด ประกอบด้วย อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร ซึ่งแต่ละจังหวัดมีผู้แทนจาก 3 หน่วยงาน ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด กระทรวงมหาดไทย ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัด (6 แห่ง) กระทรวงยุติธรรม และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด กระทรวงสาธารณสุข ร่วมลงนามในครั้งนี้
นายแพทย์เจษฎา กล่าวว่า ตามแผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ.2560–2564 ประเทศไทยตั้งเป้าลดอัตราอุบัติการณ์ของวัณโรคลงร้อยละ 12 ต่อปี จากปัจจุบัน 171 ต่อประชากรแสนคน ให้เหลือ 88 ต่อประชากรแสนคน เมื่อสิ้นปี 2564 และให้เหลือ 10 ต่อประชากรแสนคน เมื่อสิ้นปี 2578 ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่อาจป่วยเป็นวัณโรคสูง ได้แก่ ผู้ต้องขังในเรือนจำ ผู้สูงอายุ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเบาหวาน แรงงานข้ามชาติ และบุคลากรด้านสาธารณสุข
สำหรับวัณโรคในเรือนจำมีอัตราป่วยสูงกว่าประชากรทั่วไป 7-10 เท่า โดยประชากรผู้ต้องขัง 100,000 คน จะมีผู้ป่วยวัณโรคประมาณ 700 คน หากผู้ต้องขังไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษา โอกาสที่จะแพร่กระจายเชื้อให้คนอื่นๆ ในเรือนนอนได้ง่ายและเสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรคดื้อยาเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรทั่วไป ทั้งนี้ การดำเนินงานวัณโรคในเรือนจำ กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการค้นหาวัณโรคเชิงรุกโดยเอกซเรย์ปอด 100% มีการแยกเรือนนอนผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่กระจายเชื้อ การดูแลผู้ป่วยให้กินยาต่อหน้าเจ้าหน้าที่ทุกวัน เป็นต้น เพื่อเป็นการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคให้พบโดยเร็ว ลดการระบาดในเรือนจำ ซึ่งถือเป็นแนวทางร่วมกันที่จะ “คืนคนดี สุขภาพดี ปลอดวัณโรค สู่สังคม”
ด้านผู้ตรวจราชการรองศาสตราจารย์คลินิก แพทย์หญิงวารุณี กล่าวเสริมว่า เมื่อปีงบประมาณ 2559 เขตสุขภาพที่ 10 มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 4,900 ราย อัตราการค้นพบร้อยละ 63 อัตราการรักษาสำเร็จร้อยละ 89 ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและมีโรคอื่นร่วม เช่น เอชไอวี เบาหวาน เป็นต้น ทั้งนี้ ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 มีเรือนจำ 6 แห่ง ผู้ต้องขังประมาณ 12,000 คน ในปี 2559 พบอุบัติการณ์ของวัณโรค 270 รายต่อผู้ต้องขังแสนคน อัตราการค้นพบร้อยละ 39 ซึ่งต่ำกว่าค่าประมาณการ ส่วนในปี 2560 ได้ดำเนินการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคแบบเชิงรุก ในกลุ่มผู้ต้องขังในเรือนจำทุกรายโดยการเอกซเรย์ปอด และได้ดำเนินการคัดกรองแล้วเสร็จ 4 เรือนจำ ในบางเรือนจำสามารถให้บริการผู้ต้องขังจนได้รับการวินิจฉัย
ทั้งนี้ เขตสุขภาพที่ 10 ได้ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่ จัดทำโครงการ “เรือนจำเขตสุขภาพที่ 10 ปลอดวัณโรค” ขึ้น และมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือของแต่ละจังหวัด ซึ่งสาระสำคัญของ MOU คือ ทั้ง 3 หน่วยงานจะประสานความร่วมมือระหว่างกัน และสนับสนุนการดำเนินงาน ตลอดจนติดตามประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและต่อเนื่อง กิจกรรมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากเขตสุขภาพที่ 10 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 10 อุบลราชธานี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี และงบประมาณจากกองทุนโลก หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422ตามข่าวดังกล่าว(PR.กรมควบคุมโรค/ข้อมูล/ลุงไก่ สาสุขรายงาน/นสพ.นิวส์มหาชนนำเสนอข่าวเข้าไปดูข่าวได้ที่....www.news-mahachon.com