รูปภาพประกอบ |
นายกรัฐมนตรีท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานในการประชุมฯอาเซียนครั้งที่12 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ณ.โรงแรม The Athenee Hotel Bangkokเน้นย้ำให้ที่ประชุม IMT-GT เร่งสร้างความเชื่อมโยงทุกด้าน และปรับทิศทางความร่วมมือให้ทันต่อสถานการณ์โลกตามข่าว
ที่โรงแรม The Athenee Hotel Bangkok เมื่อ วันที่ (23
มิถุนายน 2562) เวลา 14.45 น.ท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยผู้นำจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย
เลขาธิการอาเซียน และประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย
เข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย
ครั้งที่ 12
(Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: IMT-GT) ณ ห้อง Grand Hall โรงแรม The Athenee Hotel
Bangkok และนายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุมฯ
ซึ่ง ท่าน พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสำคัญการหารือดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณทุกฝ่ายที่มุ่งมั่นพัฒนา
IMT-GT ให้เป็นอนุภูมิภาคที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนประชาคมอาเซียนในทุกด้าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความเชื่อมโยงภายใต้แผนแม่บทว่าด้วยการเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน
และในการสร้างโอกาสทางธุรกิจอย่างกว้างขวางและทั่วถึง
พร้อมทั้งยังได้ร่วมมืออย่างแข็งขันในการขับเคลื่อน IMT-GT โดยมีเป้าหมายชัดเจนในการมุ่งสู่การเป็นอนุภูมิภาคที่มีเป็นพื้นที่การพัฒนาอย่างมีบูรณาการ
ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ปราศจากความเหลื่อมล้ำ และมีการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้
ท่ามกลางเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับโลกและภูมิภาคอย่างรวดเร็ว นายกรัฐมนตรีเสนอให้ที่ประชุมนำมาร่วมพิจารณาในการปรับปรุงด้านการผลิตและการบริการเพื่อสนองรูปแบบการบริโภคสินค้าใหม่
พัฒนารูปแบบทางการค้า และเร่งรัดพัฒนาเครือข่ายเมืองสีเขียว ตลอดจนระบบโลจิสติกส์
และการขนส่งสีเขียวที่เป็นรูปธรรมให้เร็วยิ่งขึ้น โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุมฯ
5 ประการ ดังนี้
ประการแรก การติดตามประเมินผลความก้าวหน้าของแผนงาน
IMT-GT บนพื้นฐานของการลดหรือขจัดความเหลื่อมล้ำอย่างแท้จริง
โดยพิจารณาจากผลสำเร็จในการยกระดับคุณภาพชีวิตของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน
การลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจถึงระดับชุมชนท้องถิ่น
โอกาสสำหรับกลุ่มวิสาหกิจทุกขนาด การมีแหล่งเงินทุนทั้งเพื่อ
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
ลงไปถึงเครื่องมือทางการเงินระดับเล็ก เช่น กองทุนการเงินชุมชน รวมไปถึง
การลดความเหลื่อมล้ำทางสิทธิและโอกาสในการใช้บริการสาธารณะ
การเข้าถึงระบบการศึกษาและการพัฒนาทักษะฝีมือ
ประการที่สอง การพัฒนาด้านความเชื่อมโยงโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานที่มีการจัดลำดับความสำคัญและบูรณาการแผนงานระหว่างกันเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงโดยใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงในโลกและภูมิภาค
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเร่งพัฒนาโครงการ 1) ระเบียงเศรษฐกิจระนอง-ภูเก็ต-ปีนัง-อาเจะห์
/ เมดาน-ปีนัง-สงขลา ที่จะเชื่อมโยงทางทะเลจากแผ่นดินใหญ่ไปยังสุมาตรา 2) ระเบียงเศรษฐกิจที่หก
ปัตตานี/ยะลา/นราธิวาส – กลันตัน – สุมาตราใต้
ผ่านการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโกลกแห่งใหม่สองแห่งเพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจชายแดนไทย-มาเลเซียด้านตะวันออก
3) การเชื่อมโยงทางอากาศ 4) การเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ 5) การเชื่อมโยงโครงข่ายสารสนเทศและการสื่อสาร
รองรับการค้ารูปแบบใหม่ทางดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ และ 6) การพัฒนาด้านการอำนวยความสะดวก
โดยเร่งปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานได้สูงสุด
และอยู่บนพื้นฐานของ
ความเท่าเทียม
ประการที่สาม การยกระดับห่วงโซ่คุณค่าในผลผลิตเกษตรสำคัญ เช่น ยาง ปาล์มน้ำมัน
ประมงแปรรูปและผลิตภัณฑ์ฮาลาล
โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาโดยเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เครือข่าย UNINET และสภาธุรกิจ สร้างอุปสงค์ในอนุภูมิภาคต่อผลผลิตเกษตร
เพื่อเพิ่มมูลค่าในระยะยาว เช่น
การแปรรูปยางธรรมชาติโดยใช้เทคโนโลยีระดับสูงเพื่อใช้ภายในอนุภูมิภาคแทนการส่งออกเป็นวัตถุดิบ
โดยการใช้เป็นวัสดุในการก่อสร้างอาคาร ถนน และเป็นส่วนประกอบยานพาหนะที่ใช้ไฟฟ้า (EV) ในอนาคต
ประการที่สี่ การต่อยอดการพัฒนาเมืองสีเขียวสู่การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในหลายมิติ
ให้เร็วกว่าเป้าหมายและคัดเลือกประเด็นความร่วมมือในเรื่องที่เร่งด่วน เช่น
โครงข่ายการคมนาคมสีเขียวในเมืองภายใต้กรอบการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน และกระตุ้นความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วนโดยปราศจากความเหลื่อมล้ำ
ประการสุดท้าย การเสริมสร้างบทบาทของมุขมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัด (CMGF) ในการร่วมมือกับภาคีการพัฒนา UNINET สภาธุรกิจ IMT-GT และภาคประชาสังคม เพื่อให้มีบทบาทในการขับเคลื่อน IMT-GT ร่วมกัน โดยสำนักงาน CMGF และสภาธุรกิจ IMT-GT ของไทย
พร้อมที่จะสนับสนุนทางเทคนิคและให้การปรึกษาหารือแก่อินโดนีเซียและมาเลเซียในเรื่องโครงสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อประโยชน์ในการเสริมสร้างเครือข่ายระหว่างกันต่อไป
ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า ด้วยความตระหนักร่วมกันในความสำคัญของแผนงาน
และความร่วมมือร่วมใจในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ปี 2036 จากที่ได้พิจารณานำปัจจัยความเปลี่ยนแปลงต่าง
ๆ ในโลกปัจจุบันมาปรับทิศทางความร่วมมือให้ทันต่อเหตุการณ์ ที่ประชุมฯ
จะได้เห็นถึงความมั่นคงและผาสุกอย่างทั่วถึงแก่ประชาชนในสามประเทศ
บนพื้นฐานของการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ
ความร่วมมือในทุกมิติเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมและเป็นธรรม
ซึ่งท้ายที่สุดจะสร้างผลประโยชน์ให้ประชาชนได้อย่างเป็นธรรม ทั่วถึง
และบรรลุเป้าหมายของอาเซียนในการปราศจากความเหลื่อมล้ำอย่างแท้จริง มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
และไม่มีฝ่ายใดถูกทิ้งไว้ข้างหลังดังกล่าวตามข่าว (เป๋ คลองน้ำไม่ไหล//รายงาน//ข้อมูลจาก...โฆษกรัฐบาล)นสพ.นิวส์มหาชนออนไลน์ทั่วโลกนำเสนอข่าวเข้าไปดูข่าวได้ที่...www.news-mahachon.com