รูปภาพประกอบ |
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
จัดเสวนาทางวิชาการ “สื่อฯสิ่งพิมพ์ : วิกฤตคือโอกาส”เชิญสื่อฯเสวนาที่(ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 23 พ.ย.นี้ !)
หวังร่วมปรับเปลี่ยนและขับเคลื่อนสื่อสิ่งพิมพ์ในโลกยุคดิจิตอล กรุงเทพฯ
23พฤศจิกายน2559 - กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดงานเสวนาทางวิชาการ หัวข้อ “สิ่งพิมพ์ : วิกฤตคือโอกาส กับบทบาทของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” นำเสนอกรณีศึกษาความสำเร็จ เรื่อง“ Business Model : จากสิ่งพิมพ์สู่ออนไลน์ จากแอนะล็อกสู่ดิจิทัล” โดยวิทยากรชั้นนำในแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์ พร้อมระดมผู้เชี่ยวชาญการผลิตสื่อสำหรับเด็ก ให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หวังร่วมปรับเปลี่ยนและขับเคลื่อนสื่อสิ่งพิมพ์ให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัล วสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดงานเสวนาทางวิชาการ หัวข้อ “สิ่งพิมพ์ : วิกฤตคือโอกาส กับบทบาทของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” ขึ้นในวันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2559 ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 7 อาคาร KX (Knowledge Exchange Center) เวลา 08.30 – 17.00 น. โดยได้เชิญวิทยากรชั้นนำในแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์ในเมืองไทยเข้าร่วมนำเสนอกรณีศึกษา เรื่อง ”Business Model : จากสิ่งพิมพ์สู่ออนไลน์ จากแอนะล็อกสู่ดิจิทัล” โดย คุณเรซินา อูเบรอยบาจาชจ์ รองผู้อำนวยการ บริษัท มีเดีย ทรานศ์เอเชียไทยแลนด์ จำกัด นำเสนอเรื่อง “โอกาสทองของนิตยสาร สู่โลกของ Content Marketing” เพื่อให้ได้เข้าใจถึงพฤติกรรมผู้บริโภคและความเป็นไปของโลกดิจิทัล รวมถึง การสร้าง Value Content ผ่านสื่อออนไลน์ ทั้ง Native Advertising, Display Advertising, Online & Offline Marketing, Content Provider Service และตัวอย่างการปรับกลยุทธ์ของนิตยสาร Seventeen Thailand สู่รูปแบบดิจิทัล และคุณอรรถวุฒิ เวศรานุรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Adapter Digital (สมาคมโฆษณาดิจิทัลประเทศไทย) นำเสนอเรื่อง “ปรับ/เปลี่ยน อย่างสร้างสรรค์” ตัวอย่างการปลุกชีพสื่อสิ่งพิมพ์ระดับโลก นิตยสาร LIVE VR (Virtual Reality) ให้เป็นเทคโนโลยีที่ฮิตที่สุดในเวลานี้ จากสื่อสิ่งพิมพ์สู่ภาพเสมือนจริงของ TIME INC และการสร้างสรรค์เกมมือถือแสนสนุกจากหนังสือยอดฮิต เป็นซีรีย์เกม Sorcery สี่ภาคจบ โดย InKle Studios
นอกจากนี้ ยังได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อสำหรับเด็กมาถอดบทเรียน ให้ความรู้ ความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ได้แก่ “อาจารย์ พรอนงค์ นิยมค้า โฮริคาวา” มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก มานำเสนอตัวอย่างความสำเร็จของการถอดบทเรียนจากหนังสือเด็กของญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ โดยความร่วมมือของมูลนิธิ SCG เพื่อการสร้างสื่อปลอดภัยที่เหมาะสมสำหรับเด็ก “เกื้อกมล นิยม” สำนักพิมพ์สานอักษร โครงการ “อ่านยิ้ม อิ่มสมอง น้องอ่านฟรี” นำเสนอการพัฒนาหนังสือที่เป็นต้นแบบ เพื่อสร้างโอกาสและกระตุ้นกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก “ชีวัน วิสาสะ” สมาคมไทสร้างสรรค์ โครงการส่งเสริมและพัฒนานิสัยรักการอ่านในเด็ก ที่บอกว่าหนังสือสำหรับเด็กสำคัญเท่าๆ กับอาหารและความรัก ดังนั้น การพัฒนาเด็กด้วยการอ่านคือการสร้างรากฐานที่ยั่งยืน และ” มกุฏ อรฤดี” ครูใหญ่โรงเรียนวิชาหนังสือ ที่ทำให้เห็นว่าห้องสมุดไม่ใช่โกดังเก็บหนังสือ แต่เป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญา
“การจัดงานในวันนี้เพื่อเป็นการหาทางออกและร่วมขับเคลื่อนสื่อสิ่งพิมพ์ จากสถานการณ์ของสื่อสิ่งพิมพ์ในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก มีสำนักพิมพ์หลายแห่งปิดตัวลง ทั้งยังมีการปรับเปลี่ยนลักษณะธุรกิจของสื่อสิ่งพิมพ์หลายแห่ง เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และพฤติกรรมผู้บริโภคสื่อที่เปลี่ยนไป และเพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้คือ มุ่งรณรงค์ ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง ควบคู่ไปกับส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมถึง ส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัย อบรม พัฒนาองค์ความรู้และการสร้างนวัตกรรมด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์“ วสันต์ กล่าว หากผู้สื่อข่าวต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ดร. สายน้ำผึ้ง 081 867 9105 ตามข่าว นสพ.นิวส์มหาชนออนไลน์ทั่วโลกนำเสนอข่าวเข้าไปดูรายระเอียดได้ที่..www.news-mahachon.com