รูปภาพประกอบ |
ท่านอ.จักรกฤษณ์ เพิ่มพูน!ร่ายท่วนในเฟทส่วนตัวของท่านว่า.. (ปฏิรูปสื่อ ไม่มีอยู่จริง ? )เชิญสื่อฯที่สนใจมาพบกัน 24 พ.ย.!นี้ที่ม.ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์อย่าลืม!
ปฏิรูปสื่อ ไม่มีอยู่จริง ?
หมายเหตุ : การปฏิรูปสื่อในสังคมไทย เคยเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือการปฏิรูปคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ อันเป็นที่มาของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 กำหนดให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาจัดสรรคลื่นความถี่ซึ่งถือเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ ซึ่งจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ ถึงวันนี้การปฏิรูปสื่อเช่นว่านี้ กำลังถูกเปลี่ยนแปลง และบิดเบือนไปจากเจตนารมณ์เดิม กลายเป็นการจัดสรรผลประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง ในขณะที่แบบพิธีกรรมที่เรียกว่าการปฏิรูปสื่อ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะคุมสื่ออย่างเบ็ดเสร็จ โดยผ่านใบอนุญาตประกอบวิชาชีพก็กำลังคึกคัก และเข้มข้นยิ่ง
-------------------------------------------------------
เ พราะความหวาดระแวงสื่อออนไลน์ กับความเชื่อว่าโทรทัศน์ดาวเทียม เป็นตัวการร่วมสำคัญที่ทำให้สังคมไทยแตกแยก รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 จึงกำหนดให้สื่อสารมวลชน เป็น 1 ใน 11 ประเด็นปฏิรูปสำคัญเร่งด่วน จนเป็นที่มาของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชน และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ
อันมีกูรูด้านวิทยุ โทรทัศน์ รศ.จุมพล รอดคำดี เป็นประธานและต่อเนื่องมาถึง คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน ซึ่งมีพล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร เลขานุการประธาน กสทช.เป็นประธาน
ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ กรรมวิธีในการจัดการให้มีคนกลุ่มหนึ่งมาศึกษา วิเคราะห์ วิจารณ์ เรื่องการปฏิรูปสื่อ เพราะพื้นฐานความเข้าใจที่แตกต่างกันสิ้นเชิง ทัศนคติรวมทั้งความรู้เกี่ยวกับงานสื่อสารมวลชน ที่ต้องเรียน ก.ไก่กันใหม่ แต่อยู่ที่ “สารตั้งต้น” ที่ทำให้กระบวนการที่เรียกกันว่า การปฏิรูปสื่อนี้ เป็นเพียงความพยายามที่จะใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ ควบคุมสื่อ โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ และสื่อโทรทัศน์ดาวเทียม
ในรายงานของคณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และด้านโทรคมนาคม พูดถึงภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป โดยอธิบายว่า ยุคเทคโนโลยีดิจิตอล ทำให้เกิดการหลอมรวมสื่อทุกประเภทเข้าด้วยกัน ประชาชนสามารถเข้าถึงและบริโภคสื่อได้อย่างหลากหลายและรวดเร็ว
แล้วกระโดดข้ามไปพูดถึงการนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร หรือรายการทางวิทยุกระจายเสียง และโทรทัศน์ดาวเทียม ที่มีเนื้อหาขัดต่อกฎหมาย ใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ก่อให้เกิดความขัดแย้งและแตกแยก
เป็นการตัดต่อข้อความ คนละท่อน คนละประโยค คนละความหมาย ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วคำว่าหลอมรวมสื่อ คือการบริหารต้นทุนการผลิตข่าว ให้กระจายไปในหลายช่องทาง เป็นธุรกิจมากกว่าเนื้อหาหรืออุดมการณ์
เช่นนั้น การปฏิรูปสื่อคืออะไร หากไม่ใช่ความสำคัญผิดในปัญหาสื่อ จนกลายเป็นเรื่องพิธีกรรมฉาบฉวย เพื่อให้ได้ผลตามต้องการ คือก่อตั้งอำนาจใหม่ขึ้นมาจัดการสื่อออนไลน์ สื่อโทรทัศน์ดาวเทียม รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ที่ติดร่างแหไปด้วย
ราว 2 สัปดาห์จากนี้ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จะร่วมกันจัดเวทีสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ 12 ที่ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
กำหนดหัวข้อสำคัญ บรรยายนำการสัมมนา ชื่อ “การปฏิรูปสื่อกับเจตนารมณ์ของรัฐ” โดยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่ประธาน กรธ.จะอธิบายถึงหลักคิด วิธีการ และความคาดหวังในการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อรองรับการปฏิรูปสื่อ อันมีเนื้อหาที่แตกต่างจากร่างของอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
จากนั้น เวทีย่อย จะเริ่มด้วย วิพากษ์ “ขบวนการปฏิรูปสื่อ” ผู้ร่วมวิพากษ์ประกอบด้วย รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ ภัทระ คำพิทักษ์ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
เวทีบ่าย จะเริ่มไปในเรื่องธุรกิจและความอยู่รอด ภายใต้หัวข้อ “ปฏิรูปสื่อ VS ความอยู่รอด” ผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขมทัตต์ พลเดช พีพีทีวี วสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และฐากูร บุนปาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
เป็นเวทีที่พยายามจะค้นหาคำตอบเรื่องการปฏิรูปสื่อ ซึ่งผมเห็นว่า กระบวนการ พิธีกรรมที่ผ่านมา ยังไม่เรียกว่าเป็นการปฏิรูปสื่อเลย
แล้วพบกันวันที่ 24 พ.ย.นี้ ที่ธรรมศาสตร์
(อ.จักรกฤษณ์ เพิ่มพูน บก.นสพ.ลานลำปางอดีตประธานสภาการนสพ.รายงาน/เฟทบุค) นสพ.นิวส์มหาชนนำเสนอข่าวทัวโลกเข้าไปดูรายระเอียดได้ที่..www.news-mahachon.com